อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอาจ”แข็งค่า”ขึ้นเล็กน้อยและแกว่งตัวในโซน 33.40-33.50 บาท/ดอลลาร์ -ยังได้แรงหนุนจากฟันด์โฟลว์ที่ไหลเข้าสินทรัพย์ไทย

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.52 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า”ขึ้นเล็กน้อย
จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.54 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยและแกว่งตัว Sideways ในโซน 33.40-33.50 บาทต่อดอลลาร์

หลังจากที่เงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ ตามภาวะการเปิดรับความเสี่ยงของตลาดที่กดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และเงินบาทยังได้แรงหนุนจากฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ต่างชาติที่ไหลเข้าสินทรัพย์ไทย

นอกจากนี้ เงินบาทอาจได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่า หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้โซนแนวต้านสำคัญและทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรทองคำ

อนึ่ง สัญญาณเชิงเทคนิคัลทั้ง RSI และ MACD ยังคงหนุนแนวโน้มเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระยะสั้น โดยเงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญใกล้ระดับ 33.80 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนที่ผู้ส่งออกต่างรอปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนแนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.40 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ธุรกรรมในช่วงปลายปีอาจเริ่มเบาบางลง ทำให้ตลาดค่าเงินอาจมีความผันผวนสูงได้ หากมีโฟลว์ธุรกรรมขนาดใหญ่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นฝั่งซื้อหรือขายเงินดอลลาร์

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.45-33.60 บาท/ดอลลาร์

ตลาดการเงินโดยรวมเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง หลังผู้เล่นในตลาดการเงินคงมุมมองว่า การระบาดของโอมิครอนนั้นอาจมีความรุนแรงน้อยกว่าการระบาดในระลอกก่อนหน้า สอดคล้องกับผลวิจัยเบื้องต้นจากฝั่งยุโรปที่พบว่า แม้โอมิครอนจะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว แต่กลับไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงการป่วยหนักหรือเสียชีวิตมากนัก ทั้งนี้ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดได้หนุนให้ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น +0.62% ทำจุดสูงสุดใหม่ All time high ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดตลาด +0.85% ใกล้ทำจุดสูงสุดใหม่เช่นกัน

ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป เดินหน้าปรับตัวขึ้นราว +1.16% นำโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Cyclical/Reopening theme รวมถึงหุ้นกลุ่มเทคฯ ที่เดินหน้าปรับตัวขึ้นต่อ อาทิ Santander +3.1%, BMW +2.0%, ASML +1.4% สะท้อนว่าผู้เล่นในตลาดเริ่มคลายกังวลปัญหาการระบาดของโอมิครอนและต่างคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวต่อเนื่องหลังการระบาดสงบลง

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ การเปิดรับความเสี่ยงของผู้เล่นในตลาดได้หนุนให้ บอนด์ยีลด์10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นราว 4 bps สู่ระดับ 1.49% และเราคาดว่า บอนด์ยีลด์ระยะยาวยังสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้หลังช่วงเทศกาลคริสต์มาสและวันหยุดสิ้นปี ตามแนวโน้มการใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของบรรดาธนาคารกลางทั่วโลกและภาวะของตลาดการเงินที่จะกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักตามการทยอยเปิดรับความเสี่ยงของตลาด ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดเดินหน้าลดการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) อย่างเงินดอลลาร์ลง ทำให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ย่อตัวลงสู่ระดับ 96.02 จุด ทั้งนี้ การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ได้หนุนให้ สกุลเงินหลัก อาทิ เงินยูโร (EUR) ทรงตัวใกล้ระดับ 1.133 ดอลลาร์ต่อยูโร ขณะที่เงินเยนญี่ปุ่น (JPY)อ่อนค่าลงสู่ระดับ 114.5 เยนต่อดอลลาร์ ตามภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด

นอกจากนี้ การย่อตัวลงเล็กน้อยของเงินดอลลาร์ ได้ช่วยพยุงให้ ราคาทองคำ ทรงตัวใกล้ระดับ 1,810 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ว่าจะถูกกดดันจากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดก็ตาม อย่างไรก็ดี เราคงมองว่า แนวโน้มนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเฟด รวมถึง ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดจะกดดันให้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อแรงได้ยาก และ Upsides ของราคาทองคำเริ่มจำกัด ซึ่งมีโอกาสที่จะเห็นโฟลว์ขายทำกำไรราคาทองคำมากขึ้น หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้แนวต้านสำคัญแถว 1,820 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับวันนี้ ควรระวังความผันผวนในตลาดการเงิน เนื่องจากธุรกรรมในตลาดอาจเบาบางในช่วงวันหยุดก่อนเทศกาลคริสต์มาสในหลายประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการและนักลงทุนควรเพิ่มความระมัดระวังในการทำธุรกรรม

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าเงินบาทปรับตัวในกรอบแคบๆ ที่ 33.50-33.54 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเข้าวันนี้ ใกล้เคียงระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 33.56 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับเข้าใกล้แนว 33.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงขายสวนทางกับสินทรัพย์เสี่ยงที่ยังคงได้รับอานิสงส์จากการคลายความกังวลต่อการระบาดของโอมิครอน (แม้ว่าจะยังเป็นความเสี่ยงที่ตลาดติดตามอย่างใกล้ชิดอยู่ก็ตาม) ขณะที่การเคลื่อนไหวของสกุลเงินในภูมิภาคมีทิศทางปะปน และขาดปัจจัยใหม่ๆ มากระตุ้น ท่ามกลางธุรกรรมในตลาดที่ค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากตลาดต่างประเทศหลายแห่งปิดทำการเนื่องในเทศกาลคริสต์มาส

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ คาดไว้ที่ 33.45-33.65 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยติดตามจะอยู่ที่ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ สถานการณ์โควิด-19 และการรับมือกับสายพันธุ์โอมิครอน